เมนู

อรรถกาปัญหาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปัญหาสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โย จ เนสํ ตตฺถ ตตฺถ ชานาติ อนุธมฺมตํ ความว่า
ภิกษุใดรู้การกล่าวแก้ปัญหาเหล่านั้น ในฐานะนั้น ๆ. บทว่า จตุปญฺหสฺส
กุสโล อาหุ ภิกฺขุํ ติถาวิธํ
ความว่า ท่านเรียกภิกษุผู้เช่นนั้น อย่างนี้ว่า
ผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง 4. บทว่า ทุราสโท ทุปฺปสโห ความว่า อันใครๆ
ไม่อาจจะกระทบหรือข่มเอาได้. บทว่า คมฺภีโร ความว่า เป็นผู้ลึกซึ้ง
เหมือนมหาสมุทรสีทันดร 7 สมุทร. บทว่า ทุปฺปธํสิโย ได้แก่ ผู้ที่ใครๆ
เปลื้องได้ยาก อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่อาจจะให้เขาปล่อยการยึดถือข้อที่เขาถือ
แล้วได้. บทว่า อตฺเถ อนตฺเถ จ ได้แก่ ในความเจริญและในความเสื่อม.
บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะรวมเอาความเจริญไว้ได้. บทว่า
ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ ความว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา เขาเรียกกัน
อย่างนี้ว่า ผู้นี้ เป็นบัณฑิต ดังนี้.
จบอรรถกถาปัญหาสูตรที่ 2

3. ปฐมโกธสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[43] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกคือใคร คือ บุคคลหนักในความโกรธ ไม่หนักในพระ-
สัทธรรม 1 บุคคลหนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม 1

บุคคลหนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม 1 บุคคลหนักในสักการะ ไม่
หนักในพระสัทธรรม 1 นี้แล บุคคล 4 จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล
4 จำพวกคือใคร คือ บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ 1
บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน 1 บุคคลหนักใน
พระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ 1 บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักใน
สักการะ 1
ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความ
ลบหลู่ท่าน หนักในลาภและสักการะ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่งอกงามในพระธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
ส่วนภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัท-
ธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรม
อยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงามในพระธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

จบปฐมโกธสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมโกธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโกธสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกธครุ น สทฺธมฺมครุ ความว่า บุคคลถือความโกรธ
เป็นสำคัญ ไม่ถือพระสัทธรรม ย่อมถือพระสัทธรรม แต่ทำให้ไม่สำคัญ. แม้
ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วิรูหนฺติ ได้แก่ ย่อมเจริญ หรือ
ย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ด้วยศรัทธาที่เป็นมูลเกิดพร้อมแล้ว.
จบอรรถกถาปฐมโกธสูตรที่ 3

4.ทุติยโกธสูตร


ว่าด้วยอสัทธรรม 4


[44] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม 4 ประเภทนี้ อสัทธรรม
4 ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระ-
สัทธรรม 1 ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม 1
ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม 1 ความเป็นผู้หนักในสักการะ
ไม่หนักในพระสัทธรรม 1 นี้แล อสัทธรรม 4 ประเภท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสัทธรรม 4 ประเภทนี้ พระสัทธรรม 4
ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความ
โกรธ 1 ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน 1
ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ 1 ความเป็นผู้หนักใน
พระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ 1. นี้แล พระสัทธรรม 4 ประเภท.